
08-04-17, 22:34
|
 |
คณะพระธาตุแก้วมณีโชติ
|
|
วันที่สมัคร: Apr 2009
ข้อความ: 10,202
จำนวนครั้งที่ได้ร่วมมหาโมทนาบุญ: 6,857
ได้รับการมหาโมทนาบุญ 78,025 ครั้ง ใน 78,025 ข้อความ
พลังบุญ: 56831
|
|
รัชกาลที่ ๓ กับเมืองเขมร
 “ฉันไม่ประสงค์จะได้อะไรจากเขมร นอกจากเกียรติยศชื่อเสียงที่จะมีสืบไปในภายภาคหน้า ว่าได้กอบกู้ชาติเขมรไว้ ไม่ให้พระบวรพุทธศาสนาในเขมรต้องเป็นอันเสื่อมสลายไป”
พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รับสั่งกับนักองค์ด้วง(ขณะที่ทรงพำนักอยู่ในสยาม)เมื่อ พ.ศ. 2383
ขณะนั้นอยู่ในช่วงสงครามระหว่างสยามกับญวนเพื่อชิงความเป็นใหญ่ในเขมร อันเป็นดินแดนกั้นกลางระหว่างไทยกับญวน ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 3) ซึ่งเริ่มต้นขึ้นในปี 2376
หลังจากที่เวียดนามสนับสนุนการก่อกบฏของเจ้าอนุวงศ์ใน พ.ศ. 2367 – 2368 รวมทั้งนโยบายของจักรพรรดิมิญมางที่ต้องการรวมกัมพูชาเป็นส่วนหนึ่งของเวียดนามอย่างเปิดเผย ทำให้ความขัดแย้งระหว่างสยามกับเวียดนามรุนแรงขึ้น เมื่อเกิดกบฏต่อต้านราชสำนักเว้ในกัมพูชา รัชกาลที่ 3 จึงทรงตัดสินพระทัยส่งทหารเข้าไปในกัมพูชาเพื่อสนับสนุนฝ่ายกบฏ
ในช่วงแรก สยามเป็นฝ่ายได้เปรียบในการรบจนเวียดนามต้องนำนักองค์จันทร์หนีไปเวียดนาม แต่ในช่วงท้าย การประสานระหว่างทัพบกและทัพเรือไม่ดี จึงยึดชายฝั่งเวียดนามตามแผนไม่ได้ รวมทั้งกองทัพเรือของเวียดนามก็ตีโต้แข็งแรง รวมทั้งชาวกัมพูชาไม่สนับสนุนนักองค์อิ่มและนักองค์ด้วง พระอนุชาของนักองค์จันทร์เท่าที่ควร ฝ่ายไทยจึงถอยทัพกลับใน พ.ศ. 2367 เวียดนามจึงนำนักองค์จันทร์ ซึ่งฝักใฝ่ญวณ กลับมาครองกัมพูชาอีก และควบคุมกัมพูชาอย่างเข้มงวดกว่าเดิม
หลังจากนักองค์จันทร์ เสด็จสวรรคตในปี พ.ศ. 2377 ในขณะนั้นไม่มีรัชทายาทสืบราชบัลลังก์เขมร เนื่องจากพระเจ้าอยู่หัวไม่มีพระราชโอรสแต่มีพระราชธิดา 4 พระองค์ได้แก่ พระองค์หญิงแบน, พระองค์หญิงมี, พระองค์หญิงโพธิ์และพระองค์หญิงสงวนถึงแม้ว่าพระอนุชาของนักองค์จันยังทรงดำรงพระชนม์ชีพอยู่ซึ่งได้แก่ นักองค์อิ่มและนักองค์ด้วง ทำการอ้างสิทธิในราชบัลลังก์แต่ทั้งสองพระองค์กระทำการไม่สำเร็จเนื่องจากเวียดนามซึ่งยึดครองกัมพูชาในขณะนั้นไม่ยอมรับทั้งสองพระองค์
ในทางกลับกันองค์พระจักรพรรดิเวียดนามและขุนนางกัมพูชาได้ต้องการที่จะสถาปนาพระองค์หญิงแบน พระราชธิดาพระองค์โตในนักองค์จันขึ้นเป็นพระประมุข แต่พระนางทรงไม่ได้รับเลือกอันเนื่องมาจากทรงนิยมเข้าข้างฝ่ายไทย ทรงเกลียดชังเวียดนามอย่างมากและทรงปฏิเสธที่จะอภิเษกสมรสกับพระราชโอรสขององค์จักรพรรดิ ในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2378 นักองค์มี หรือ พระองค์หญิงมี พระขนิษฐาในพระองค์หญิงแบน ได้รับการสถาปนาให้เป็นพระเจ้ากรุงกัมพูชา พระภคินีทั้งสามพระองค์ได้รับการแต่งตั้งเป็นพระประมุขรอง
ประชาชนชาวกัมพูชาไม่คุ้นเคยกับประเพณีที่ปกครองโดยสตรีและสิ้นหวังจากการ "ทำให้เป็นเวียดนาม" (Vietnamization) นโยบายนี้ถอนรากถอนโคนรากเหง้าทางวัฒนธรรมของกัมพูชา ซึ่งเป็นของไม่มีอารยะในทัศนะของเวียดนาม ตลอดจนชีวิตของคนทุกระดับตั้งแต่พระเจ้าแผ่นดินลงไปถึงประชาชน บรรดาศักดิ์ตั้งเป็นภาษาเวียดนาม ชาวกัมพูชาต้องแต่งกายแบบเวียดนาม ไว้ผมยาว เลิกเปิบข้าวด้วยมือ ในสังคมภายนอก สตรีทุกคนถูกสั่งให้สวมกางเกงแทนที่ผ้านุ่งแบบเขมรและให้ไว้ผมยาวตามแบบเวียดนาม ตลาดขายเฉพาะอาหารเวียดนาม ระบำหลวงของกัมพูชาได้ถูกปรับให้เข้ากับวัฒนธรรมเวียดนามและจีน เวียดนามเรียกว่า ""ภารกิจแห่งความศรีวิไล"
วัดในลักษณะอัตลักษณ์แบบเขมรถูกกำจัดจนหมดสิ้น แทนที่ด้วยชื่อแบบเวียดนาม พื้นที่รอบกรุงพนมเปญได้เปลี่ยนชื่อจาก อันนาม เป็น ตราน เตย์(Tran Tay) แปลว่า "เขตอำนาจทางตะวันตก" พงศาวดารกัมพูชาบันทึกเหตุการณ์ช่วงนี้ว่า "...มัน (เวียดนาม) คืดจะยึดเอาพระนครประเทศเขมรทั้งหมดให้อยู่ในกำมือของมัน" ชาวเขมรซึ่งสนับสนุนสยามพยายามขอความช่วยหรือจากสยามให้สถาปนาพระประมุขซึ่งเป็นบุรุษคือ นักองค์ด้วง
เวียดนามได้ส่งทหารควบคุมพระองค์หญิงทั้งสี่ สมเด็จพระมหาราชินีองค์มีทรงมีทหารติดตามถึง 100 นายเพื่อคุ้มครองความปลอดภัยของพระนาง ส่วนพระองค์หญิงอีกสามพระองค์มีทหารติดตาม 30 นาย เกี่ยวกับความปลอดภัยของพระองค์อย่างเห็นได้ชัด ทหารต้องแน่นอนว่าจะไม่ปล่อยให้พวกพระนางทรงหลบหนีไปได้
พระองค์หญิงแบน พระเชษฐภคินีของพระมหาราชินีองค์มีทรงประสบกับพระชะตาที่เหมือนกัน หลังจากทางการเวียดนามตรวจพบว่าพระองค์หญิงแบนทรงแค้นพระทัยอย่างมากที่เวียดนามกระทำการย่ำยีประเทศชาติของพระนางจึงทรงติดต่อกับพระมารดาและพระมาตุลาของพระนางซึ่งประทับอยู่ที่เมืองพระตะบองและพระนางทรงวางแผนที่จะลี้ภัยไปยังสยาม ซึ่งทางสยามยินดีที่จะช่วยเหลือ แต่แผนการกลับรั่วไหลพระนางทรงถูกจองจำและไต่สวนความผิดที่กรุงพนมเปญ
สมเด็จพระจักรพรรดิมิน มางแห่งเวียดนามทรงประกาศถอดถอนสมเด็จพระมหาราชินีองค์มีและลดพระอิสริยยศของพระองค์หญิงทั้งสี่ ในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2384 ทุกพระองค์ถูกจับและถูกคุมพระองค์มาที่เวียดนามพร้อมข้าราชบริพาร ในเวลานั้นพระบรมวงศานุวงศ์บางพระองค์ของพระองค์มีทรงถูกจองจำที่เกาะคอนสอน ตามเอกสารของฝ่ายไทยและกัมพูชาระบุไว้ว่าพระองค์หญิงแบนทรงถูกทหารเวียดนามจับใส่ถุงกระสอบถ่วงน้ำจนสิ้นพระชนม์ที่แม่น้ำโขงจากการเป็นทุรยศต่อเวียดนาม การกระทำเช่นนี้ของเวียดนามในสายตาของชาวกัมพูชาแล้วเท่ากับเป็นการ "...ทำลายล้างวงศ์เจ้านาย ไม่มีพระมหากษัตริย์ปกครองต่อไปจะให้เมืองเขมรวินาศแลให้อยู่ในเงื้อมมือของญวนฝ่ายเดียว..."
ในช่วงที่แผ่นดินกัมพูชาว่างกษัตริย์ เป็นระยะเวลาแห่งความสับสนวุ่นวายในกัมพูชา ขุนนางชาวกัมพูชาและผู้ติดตามจำนวนมากได้ก่อกบฏต่อต้านการปกครองเวียดนามในกรณีสิ้นพระชนม์ของพระองค์หญิงแบนและการจับกุมพระมหาราชินีองค์มี รัฐบาลเวียดนามในกรุงพนมเปญได้เรียกร้องไปยังรัฐบาลกลางให้เชิญพระองค์มีกลับมาเพื่อขจัดการก่อกบฏแต่สมเด็จพระจักรพรรดิมิน มางทรงปฏิเสธข้อเรียกร้อง อย่างไรก็ตามในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2348 ในเวลาที่พระนางเสด็จกลับพนมเปญได้มีการออกประกาศสู่ทางการท้องถิ่นเพื่อสนับสนุนราชบัลลังก์ของพระนาง
พระมหาราชินีองค์มีทรงกลับคืนสู่ราชบัลลังก์อีกครั้งและพระองค์หญิงโพธิ์ พระขนิษฐาได้รับการเลือกให้เป็นองค์รัชทายาทในปีพ.ศ. 2387 อย่างไรก็ตามราชสำนักกัมพูชายังคงอยู่ภายใต้เวียดนามจนกระทั่งเดือนตุลาคม พ.ศ. 2389 เมื่อเวียดนามได้ปลดปล่อยพระราชธิดาของพระบาทสมเด็จพระนโรดม หริรักษ์รามาธิบดี(นักองค์ด้วง)และข้าราชบริพารชาวกัมพูชาได้มาร่วมกับนักองค์ด้วงที่กรุงอุดง
ขณะนั้นนักองด้วงมีพระชนมายุ 43 พรรษา หลังจากที่ทรงพำนักอยู่ในสยามเป็นเวลา 27 ปี จึงเดินทางกลับเขมรพร้อมกับกองทัพเจ้าพระยาบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี) เพื่อรบกับญวนที่กำลังแผ่อำนาจเข้าสู่เขมรในช่วงนั้น โดยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวมีพระบรมราชโองการว่า "หากเขมรสงบเรียบร้อยเมื่อใดให้อภิเษกพระองค์ด้วงขึ้นครองเขมร" ดังนั้น เมื่อกองทัพของเจ้าพระยาบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี) สามารถจัดการเหตุการณ์ในเขมรเป็นที่เรียบร้อยแล้ว จึงมีการอภิเษกนักองค์ด้วงขึ้นครองราชสมบัติที่เขมรเมื่อพระชนมายุ 51 พรรษา มีพระนามว่า "สมเด็จพระหริรักษ์รามาอิศราธิบดี" ตั้งแต่ประมาณ พ.ศ. 2390 โดยได้สืบราชสมบัติต่อจากพระราชินีองค์มี ผู้ซึ่งเป็นพระนัดดา
ภาพประกอบ : พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวแห่งสยาม ผู้ส่งกองทัพเข้ามากัมพูชาและมีพระบรมราชโองการว่า "หากเขมรสงบเรียบร้อยเมื่อใดให้อภิเษกพระองค์ด้วงขึ้นครองเขมร"
ที่มา ชมรมประวัติศาสตร์สยาม
https://www.facebook.com/siamhistory...680886686193:0
__________________
รวย ฤทธิ์ นิพพาน
|