การฝึกลมปราณ
ความจำเป็นของการฝึกหายใจให้ถูกต้อง หากเราสามารถฝึกหายใจคือหายใจในระดับของเซลล์ ซึ่งจะทำให้เซลล์ได้รับออกซิเจนอย่างเต็มที่ การทำงานของเซลล์ต่างๆย่อมที่จะมีประสิทธภาพ เมื่อเซลล์ภายในตัวเราแข็งแรง ร่างกายเราย่อมมีอายุยืนยาวไปด้วย เต็มไปด้วยความกระชุ่มกระชวย อ่อนเยาว์อยู่เสมอ หรือเรียกว่าแก่ช้า เพราะว่าเซลล์ในตัว เราเสื่อมช้า
ลักษณะการหายใจที่ถูกต้อง
การหายใจที่ถูกต้องจะมีลักษณะคือ กล้ามเนื้อซี่โครงผายออก ทรวงอกขยาย ไหล่ยกขึ้นเล็กน้อย ท้องป่องออก กล้ามเนื้อกระบังลมดระดับลงในช่องท้อง แต่ขณะที่หายใจออก ท้องจะแฟบลง ไหล่และทรวงอกก็จะลดลงด้วย
ประโยชน์ของการหายใจอย่างถูกต้อง
- เป็นวิธีที่ดีวิธีหนึ่งที่จะทำให้ร่างกายกลับคืนสู่ความเป็นหนุ่มสาว
- ช่วยให้อาหารในเลือดอุดมขึ้น ช่วยส่งเสริมการไหลเวียนของร่างกาย
- ทำให้ปอดแข็งแรง และสามารถป้องกันอาการหลอดลมอักเสบได้
- ช่วยขยายช่องระหว่างกระดูกกับเส้นเอ็นให้กว้างขึ้น ช่วยลดความกดดันที่ปอดกับขั้วหัวใจที่ต้องรับอยู่ให้น้อยลง
- ทำให้ช่วงไหล่กว้างขึ้น ช่วยเพิ่มความแข็งแรงของร่างกาย
- ทำให้กระดูกสันหลังยาวขึ้นได้ หากอยู่ภายในอายุที่เหมาะสม ก็ใช่ว่าจะเป็นสิ่งที่เป็นไปได้ยาก
- ช่วยให้อวัยวะส่วนที่ใช้ในการเคลื่อนไหวของร่างกายเจริญเติบโตได้อย่างถูก สุขลักษณะ ทำให้ความเคลื่อนไหวต่างๆเป็นไปอย่างสมดุลและสวยงาม
- ทำให้ระบบย่อยอาหารดีขึ้น และช่วยบำรุงเซลล์ที่ได้รับความเสียหายด้วย
- ทำให้เลือดบริสุทธิ์ ทำให้ร่างกายดูดซึมอาหารที่ย่อยหมดแล้วไปบำรุงเลี้ยงร่างกายได้เต็มที่
- การหายใจลึกนี้ จะทำให้ส่วนที่เป็นร่องลึกแถวลำคอเต็มขึ้นมาได้ และยังสามารถเพิ่มเม็ดโลหิตแดง ทำให้ใบหน้าระเรื่อสวยงาม ป้องกันโลหิตจางได้
ในความจริงแล้ว เราสามารถที่จะฝึกหายใจลึกๆได้ในทุกโอกาสที่ว่างเช่นเวลาคอยรถเมล์ คอยโทรศัพท์ เวลาขับรถ เวลาที่คอยอาหาร
การเตรียมตัวก่อนฝึกปราณยาม
1. ยืนตรงไม่เกร็งตัว หายใจออก แล้วแขม่วท้องให้แฟบ เพื่อให้ลมหายใจออกให้หมด
2. เริ่มหายใจเข้าช้าๆ เพื่อให้ลมหายใจถูกสูดเข้าไปในปอดมากที่สุด เมื่อรู้สึกว่าเต็มปอด ทรวงอกจะขยายพองออก ท้องป่องออก ไหล่ยกขึ้นเล็กน้อย ขณะหายใจเข้านับในใจ 1-10
3. ค่อยๆยกมือทั้งสองขึ้นเหนือศรีษะช้าๆ ขณะเริ่มหายใจเข้าปอด เมื่อมือบรรจบกัน ให้กลั้นหายใจไว้ แล้วนับช้าๆ 1-10
4. เมื่อหายใจออกให้ลดมือลง ทำช้าๆนับในใจ1-5 หรือเท่าจำนวนครั้งที่นับเมื่อหายใจเข้า พยายามบีบทรวงอกและแขม่วท้องให้ลมหายใจออกไปมากที่สุด
ปฏิบัติเช่นนี้ 5 รอบ หรือ 10 รอบก็ได้ แม้ในยามที่ไม่ฝึกปราณหรือโยคะ เราก็สามารถที่จะปฏิบัติวิธีนี้ได้ ตอนตื่นนอนตอนเช้าตรู่ และก่อนเข้านอนทุกคืนก็ได้ แต่ควรปฏิบัติในที่มีอากาศถ่ายเทเท่านั้น
ตัวอย่างปราณยามที่ควรปฎิบัติ
นัทกิ ปราณยาม
คุณประโยชน์ เพิ่มพลังประสาท ทำความสะอาดรูจมูก บำบัดอาการไอและไข้หวัด บำบัดอาการปวดศรีษะ คลายเครียด ทำให้จิตใจผ่อนคลาย
วิธีปฏิบัติ ทำจิตใจให้สงบ ทำจิตใจให้สงบ นั่งขัดสมาธิ ตัวตรง หลังตรง และไม่เกร็งคอ
1. ใช้นิ้วหัวแม่มือปิดรูจมูกขวา หายใจเข้าทางรูจมูกซ้ายๆ ช้าๆ อย่าให้เกิดเสียง
2. ใช้นิ้วนางและนิ้วก้อยปิดรูจมูกซ้าย แล้วจึงเปิดรูจมูกขวา พร้อมกับหายใจออกช้าๆอย่าให้มีเสียง
3. นิ้วนาง นิ้วก้อย ยังคงปิดรูจมูกซ้าย หายใจเข้าช้าๆทางรูจมูกขวา
4. ใช้นิ้วหัวแม่มือปิดรูจมูกขวา แล้วหายใจออกทางรูจมูกซ้าย
5. นี่เรียกว่าครบหนึ่งรอบ ให้ทำเช่นนี้สามรอบ โดยจำง่ายๆ ว่า หายใจเข้ารูซ้ายออกขวา หายใจเข้ารูขวา ออกซ้าย ดังนี้ อย่าลืมว่าทำช้าๆ ไม่หายใจให้มีเสียงดัง
สุริยะ บัณฑะ ปราณยาม
คุณประโยชน์ ช่วยเพิ่มน้ำดี ขจัดแก๊ส ช่วยขับเสมหะ ทำความสะอาดเลือด ทำให้ระบบย่อยอาหารแข็งแรง เพิ่มพลังความร้อนให้แก่ร่างกาย เพิ่มความกระปี้กระเปร่า ชะลอความแก่
วิธีปฏิบัติ นั่งสมาธิตัวตรงไม่เกร็ง หลับตาสบาย ไม่ควรทำในขณะอากาศร้อนจัด
1. ใช้นิ้วนาง(ข้างขวา) ปิดรูจมูกซ้าย หายใจเข้าทางรูจมูกขวาอย่างแรง แล้วกลั้นลมหายใจไว้สักครู่
2. กดหัวแม่มือ ปิดรูจมูกขวา แล้วหายใจออกทางรูจมูกซ้าย หายใจออกแรงๆ
3. การหายใจเข้าออกต้องทำอย่างรวดเร็ว และหายใจแรงๆ ต้องทำอย่างนี้สลับกัน 5 รอบ โดยจำว่าตอนหายใจเข้า รูจมูกขวาแรงๆ ออกรูจมูกซ้ายแรงๆ
อย่าลืมเมื่อหายใจเข้าแล้ว กลั้นไว้สักครู่ จึงหายใจออกมา
4. เมื่อปฏิบัติครั้งต่อไป ให้เพิ่มจาก 5 รอบ เป็น 10 รอบ จนถึง 20 รอบก็ได้
จันทรา บัณฑะ ปราณยาม
คุณประโยชน์ ช่วยลดความร้อนในร่างกาย บำบัดโรคหัวใจ ลดการไหลเวียนของน้ำดี ขจัดอาการเฉื่อยชา ขี้เกียจ
วิธีปฏิบัติ นั่งขัดสมาธิตัวตรง หลังตรง ไม่เกร็ง
1. ใช้นิ้วหัวแม่มือข้างขวา ปิดรูจมูกขวา หายใจเข้าแรงๆ ทางรูจมูกซ้าย แล้วกลั้นหายใจไว้ให้นานที่สุดเท่าที่จะทนได้ เพื่อส่งลมปราณไปให้ทั่วร่าง
2. ขณะกลั้นลมหายใจ ใช้นิ้วนาง และนิ้วก้อยปิดรูจมูกซ้ายอีก เท่ากับว่าปิดทั้งสองรูจมูกแล้ว
3. เปิดรูจมูกขวา แล้วหายใจออกช้าๆ เบาๆ ให้นานๆ
4. ไม่ต้องทำสลับกัน ให้เริ่มอีกในรอบที่สอง ด้วยการปิดที่รูจมูกขวา หายใจเข้ารูจมูกซ้าย กลั้นไว้ แล้วปล่อยออกทางรูจมูกขวา แล้วเริ่มใหม่ตามข้อ 1 อีก
ทำเช่นนี้ 5-10 รอบก็ได้
อุจจายิ ปราณยาม
คุณประโยชน์ ช่วยฟอกเลือด ทำความสะอาดปอด และลำคอ และทรวงอก ช่วยให้การไหลเวียนของเลือดดีขึ้น
วิธีปฏิบัติ นั่งขัดสมาธิตัวตรง ไม่เกร็ง จะลืมตาหรือหลับตาก็ได้
1. หายใจเข้าทางรูจมูกทั้งสองข้างอย่างเต็มที่ ขณะหายใจเข้าให้กดลิ้นไว้ที่บนเพดานปาก และปิดกล่องเสียงไว้
2. เมื่อหายใจเข้าเต็มที่ ซี่โครงจะขยาย จะเกิดเสียงหายใจเข้าดังแผ่วๆช้าๆ
3. เมื่อหายใจเข้าแล้ว กลั้นลมหายใจไว้ให้นานที่สุด เท่าที่จะนานได้ ขณะกลั้นลมหายใจ อาจนับในใจประมาณ 10 วินาทีก็ได้
4. ระหว่างกลั้นลมหายใจไว้ ต้องไม่เกร็งตัว ใบหน้าและท้องต้องให้รู้สึกผ่อนคลาย
5. ปิดรูจมูกขวา หายใจออกช้าๆทางรูจมูกซ้าย ยังคงกดลิ้นไว้บนเพดาน และปิดกล่องเสียงไว้ ถ้าเริ่มฝึกครั้งแรกๆ จะหายใจออกทางรูจมูกทั้งสองข้างก่อนก็ได้
6. การหายใจออกต้องค่อยๆปล่อยลมออกช้าๆให้ยาวนานกว่าการหายใจเข้า
7. เริ่มรอบใหม่อีกครั้ง ปฏิบัติให้ได้ 10 - 15 รอบ
จาก หนังสือ ธรรมชาติบำบัด กับสุขภาพ เรียบเรียงโดย ธรรมปราโมทย์
ที่มา :::
��ý֡���ҳ